Description
Cranberry ตัวช่วยจุดลี้ลับ ปัญหาปวดจิต สำหรับสาวน้อยสาวใหญ่ โรคยอดฮิตพอ ๆ กับสิว กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ตกขาว คันในช่องคลอด หลากหลายปัญหาที่ยังไม่อยากพบหมอ ทางเลือกที่ไม่เป็นอันตราย สารสกัดจากธรรมชาติ ที่มีงานวิจัยรองรับว่า มีประสิทธิภาพเรื่องการเยียวยารักษาอาการดังกล่าวได้ผลจริง สูตรนี้ เป็น ผล Cranberry เข้มข้น 12600 mg ที่สำคัญไม่ใช่ยา และก็ไม่ต้องตรวจภายในให้อายหมอ ที่สำคัญ ยังไม่พบผลข้างเคียงแต่อย่างใด ปลอดภัย ไร้กลิ่นไม่พึงประสงค์
มารู้จักกับแครนเบอร์รี่ Cranberry Fruit ผลไม้มหัศจรรย์ อีกหนึ่งคุณค่าจากธรรมชาติ
แครนเบอร์รี่ เป็นผลไม้รสเปรี้ยวที่เชื่อว่าอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจ บรรเทาอาการไข้หวัด รักษาโรคติดเชื้อบางชนิด และยับยั้งการติดเชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและมะเร็งกระเพาะอาหาร
สารสกัดจากแครนเบอร์รี่ Cranberry Extract ประกอบด้วย สาร Flavonoids ที่มีชื่อว่า Proanthocyanidins หรือ PACs ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ช่วยในการยับยั้งการจับตัวของแบคทีเรียบางชนิดที่ผนัง เซลล์ นักวิจัยได้ค้นพบและจำแนกสาร Phytochemicals ชนิดพิเศษที่มีอยู่เฉพาะในแครนเบอร์รี่ ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นในการยับยั้งการจับตัวของแบคทีเรีย เช่น เชื้อ E. coli ที่ Epithelial Cells (เช่น ที่ทางเดินปัสสาวะ) จึงช่วยให้ทางเดินปัสสาวะมีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงการเกิดโรคปัสสาวะอักเสบ นอกจากนี้ แครนเบอร์รี่ ยังเป็นแหล่งของกรดอินทรีย์ชั้นเยี่ยม อุดมไปด้วยสาร Flavonoids เป็นแหล่งของสาร Antioxidants ตามธรรมชาติและมีปริมาณ Phytonutrients สูง
มีการศึกษาและหลักฐานทางการแพทย์บางส่วนได้พิสูจน์แง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับแครนเบอร์รี่ไว้ ดังนี้
- แครนเบอร์รี่กับประโยชน์ต่อโรคหัวใจ โรคหัวใจมักเกิิดจากการสะสมของไขมันภายในหลอดเลือดแดง ทำให้เสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันและหลอดเลือดภายในอวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสียหายจนเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ แครนเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระหลากชนิด จึงเชื่อว่าการบริโภคแครนเบอร์รี่อาจส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจด้วย โดยการศึกษาทดลองในมนุษย์พบว่า น้ำแครนเบอร์รี่หรือสารสกัดจากแครนเบอร์รี่อาจมีประโยชน์กับผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ เช่น ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL) ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL) ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดระดับความดันโลหิตและลดความแข็งตึงของหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจ รวมถึงลดระดับโฮโมซีสเตอีน ซึ่งเป็น 1 ในปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ แม้การศึกษาข้างต้นจะแสดงให้เห็นว่าการบริโภคน้ำแครนเบอร์รี่อาจส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ แต่งานค้นคว้าอีกส่วนหนึ่งกลับแสดงผลลัพธ์ที่ต่างกันออกไป จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมในด้านนี้ต่อไป เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของแครนเบอร์รี่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความปลอดภัย ปริมาณ และระยะเวลาในการบริโภคที่เหมาะสมก่อนตัดสินใจบริโภคแครนเบอร์รี่เพื่อหวังประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูง หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพใด ๆ
- แครนเบอร์รี่กับการบรรเทาอาการไข้หวัด ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัสชนิดไม่รุนแรงที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ จมูก ไซนัส คอ ทำให้มีอาการไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล หลายคนเชื่อว่าการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยวอย่างแครนเบอร์รี่ช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากไข้หวัดได้ จากการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่า การบริโภคน้ำแครนเบอร์รี่ปริมาณ 450 มิลลิกรัม เป็นประจำทุกวัน อาจช่วยบรรเทาอาการของไข้หวัดได้ เนื่องจากแครนเบอร์รี่ประกอบด้วยสารพอลีฟีนอลและสารโปรแอนโทไซยานิดินที่อาจเป็นประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม การค้นคว้าดังกล่าวเป็นงานทดลองขนาดเล็ก จึงควรศึกษาวิจัยถึงประสิทธิผลที่ชัดเจนของแครนเบอร์รี่ในด้านนี้ต่อไปในอนาคต
- แครนเบอร์รี่กับการต้านเชื้อเอชไพโลไร เชื้อเอชไพโลไรเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร และการติดเชื้อเอชไพโรไลในผู้ป่วยบางรายอาจนำไปสู่โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ในทางการแพทย์คาดว่าแครนเบอร์รี่อาจมีฤทธิ์ต้านเชื้อเอชไพโลไร โดยมีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า การบริโภคน้ำแครนเบอร์รี่เป็นประจำทุกวันช่วยยับยั้งการติดเชื้อเอชไพโลไรในผู้ป่วยที่ติดเชื้อชนิดนี้ได้
- แครนเบอร์รี่กับการป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล (E. Coli) ที่เพิ่มจำนวนและเจริญเติบโตในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งหลายคนเชื่อว่าสารประกอบในแครนเบอร์รี่จะช่วยป้องกันแบคทีเรียเหล่านั้นจากการเกาะตัวตามผนังกระเพาะปัสสาวะจนเกิดการติดเชื้อได้ แต่การศึกษาวิจัยจำนวน 24 ชิ้น ได้ชี้ให้เห็นว่า โดยส่วนใหญ่การบริโภคแครนเบอร์รี่ชนิดเม็ดหรือแคปซูล และน้ำแครนเบอร์รี่ไม่อาจช่วยป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ โดยอาจเป็นเพราะสารต่าง ๆ ในแครนเบอร์รี่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ อีกทั้งการบริโภคน้ำแครนเบอร์รี่เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายด้วย